“ซีโร่ คาร์บอน” โอกาสธุรกิจใหม่ แข่งรับจ้างปลูกป่าทั่วไทย

14 พฤษภาคม 2565
“ซีโร่ คาร์บอน” โอกาสธุรกิจใหม่ แข่งรับจ้างปลูกป่าทั่วไทย

          “ซีโร่ คาร์บอน”สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ เผยบริษัทชั้นนำแห่ขอพื้นที่ปลูกป่าชายเลน 5 แสนไร่ เพื่อคาร์บอนเครดิต 5 บริษัทผ่านเกณฑ์รับปลูก ด้านกรมสรรพสามิตเร่งศึกษาเก็บภาษีคาร์บอน 5 สินค้า รับมือ CBAM อียู

          ภาคธุรกิจของไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส อย่างต่อเนื่อง ไล่จากดิจิทัล ดิสรัปชั่น สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ไทยมีส่วนได้เสีย มาถึงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจ การค้าโลกชะลอตัว สอดแทรกด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบเงินเฟ้อ ต้นทุนและราคาสินค้าสูงขึ้นทั่วโลก

           ล่าสุดภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่โลกได้ให้สัญญาร่วมกันว่าจะช่วยกันลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2050 เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส สร้างแรงกระเพื่อม ประเทศคู่ค้าได้นำประเด็นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาใช้เป็นมาตรการทางการค้า

          ทั้งนี้ในเวทีสัมมนา ZERO CARBON วิกฤติ-โอกาสไทยในเวทีโลก จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (11 พ.ค.65) พบว่าในส่วนของประเทศไทยได้ก่อให้เกิดบริบทใหม่ทางธุรกิจเพื่อใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ทั้งการปลูกป่าชายเลนเพื่อดูดซับคาร์บอน รวมถึงเกิดตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เริ่มมีความคึกคักมากขึ้น

แห่ปลูกป่าเพื่อประโยชน์คาร์บอนเครดิต

          นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในช่วงเสวนาในหัวข้อ “Carbon War : จุดเปลี่ยนการค้า-ลงทุนโลก” ใจความสำคัญระบุว่า กรมฯได้สานต่อเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทยให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065 ให้สำเร็จ

          โดยการลดก๊าซเรือนกระจกที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่ง คือ การปลูกป่าชายเลนเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทั้งนี้กรมฯได้มีการออกระเบียบว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2564 รวมถึงพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขอรับพื้นที่ไปปลูกป่าชายเลนเพื่อดูดซับคาร์บอน และไปใช้เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิตของภาคธุรกิจ

อ่านต่อได้ที่: https://www.thansettakij.com/economy/524868


แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.