“ธุรกิจและนักลงทุนไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อจีนดำเนินนโยบาย Common Prosperity”

22 ธันวาคม 2564
“ธุรกิจและนักลงทุนไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อจีนดำเนินนโยบาย Common Prosperity”
          KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าการแทรกแซงจากรัฐบาลจีนและการออกมาตรการภายใต้นโยบาย Common Prosperity จะส่งผระทบที่ธุรกิจและนักลงทุนไทยไม่อาจมองข้าม เนื่องจาก 1) คนไทยไปลงทุนในจีนจำนวนมาก 2) จีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย 3) ไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนสูง 4) ผลกระทบต่อความมั่นคงของเอเชียจากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์

          สิ่งที่จุดประกายนโยบาย Common Prosperity

          มาตรการต่างๆที่เราได้เห็นทางการจีนบังคับใช้ไม่ได้เป็นเพียงมาตรการเพื่อจัดระเบียบอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่เป็นความพยายามของรัฐบาลจีนที่จะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว 5 ประการได้แก่ 1) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ครอบครองสัดส่วนตลาดสูงและมีการสะสมข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูง 2) หนี้ที่อยู่ในระดับสูงและความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ในวงกว้างจนทำให้ราคาบ้านแพงจนประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ 3) สังคมสูงวัยที่กำลังจะมาถึงและจำนวนประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มลดลง 4) มลภาวะทางอากาศซึ่งมาจากการเผาถ่านหินเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน 5) อิทธิพลจากค่านิยมตะวันตกที่พยายามเข้ามาในตลาดจีนมากยิ่งขึ้น

          เมื่อค่านิยมของธุรกิจและรัฐไม่ตรงกัน

          นอกจากประเด็นเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ภายใต้แนวคิดของสี จิ้นผิง หากปล่อยให้จีนมีการเปิดเสรีและปล่อยให้ปัญหาเชิงโครงสร้างต่างๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่ภาครัฐไม่เข้ามากำกับดูแล จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงานที่จะขยายมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐภายใต้แนวคิดของสี จิ้นผิง จะเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลภาคเอกชน ทำให้หลักการพื้นฐานในการลงทุนในจีนแตกต่างจากหลักการลงทุนในประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกาที่มีความเป็นระบบตลาดทุนนิยมแบบเสรีมากกว่า สำหรับนักลงทุนไทย การนำหลักการในการลงทุนแบบประเทศตะวันตกที่เป็นทุนนิยมเสรี มาใช้กับประเทศสังคมนิยมแบบจีน อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่เกิดจากค่านิยมที่ขัดกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของจีน


อ่านต่อได้ที่ : https://bit.ly/3prdsjz

แหล่งที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.