มหากาพย์สงครามรัสเซีย-ยูเครน กับ 3 มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (EP2)

23 มกราคม 2566
มหากาพย์สงครามรัสเซีย-ยูเครน กับ 3 มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (EP2)

          333 วัน มหากาพย์สงครามรัสเซีย-ยูเครน กับ 3 มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญครอบคลุมรอบด้านและรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา

         นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าวเพื่อดูผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วง333วัน  ว่า การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและยูเครนดำเนินมาเป็นระยะเวลากว่า 333 วันแล้ว นับจากวันที่ 24 ก.พ. 65 ที่รัสเซียเริ่มเข้าไปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วยชนวนเหตุจากกรณีพิพาทเรื่องดินแดน

         จนนำไปสู่การคว่ำบาตรรัสเซียจากนานาประเทศ ซึ่งผลจากความขัดแย้งดังกล่าวยังคงเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกมาจนถึงขณะนี้ และยังคงดำเนินอยู่อย่างไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลงพัฒนาการความขัดแย้งที่สำคัญตลอดช่วงระยะเวลา 333 วัน

         โดยประเทศ พันธมิตรชาติตะวันตกซึ่งนำโดย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) และกลุ่ม G7 ได้ร่วมกันประกาศใช้ 3 มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมรอบด้านและรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา โดยหวังที่จะสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจรัสเซียอย่างหนัก เพื่อกดดันให้รัสเซียยุติการสู้รบ หรือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจา

  1. การคว่ำบาตรด้านการเงิน การธนาคาร การลงทุน อาทิ การตัดธนาคารของรัสเซียออกจากระบบการชำระเงิน SWIFT การอายัดเงินสำรองของธนาคารกลางและสถาบันการเงินของรัสเซีย การห้ามลงทุนเพิ่มในรัสเซีย
  2. การคว่ำบาตรด้านพลังงาน อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดาสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียทั้งหมด, EU ระงับการนำเข้าถ่านหิน ระงับการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียทางทะเล และจะห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันจากรัสเซียตั้งแต่เดือน ก.พ. 66, EU G7 และออสเตรเลียใช้มาตรการจำกัดเพดานราคาน้ำมันดิบที่นำเข้าจากรัสเซียที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
  3. การคว่ำบาตรด้านการค้าสินค้าและบริการ อาทิ จำกัดการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการทหารของรัสเซีย เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีขั้นสูง อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ ทองคําและผลิตภัณฑ์ทองคำ ห้ามนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยจากรัสเซีย และระงับการให้บริการขนส่งสินค้าแก่รัสเซียทางด้านรัสเซียก็ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ด้วยการประกาศรายชื่อประเทศที่ไม่เป็นมิตรซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมคว่ำบาตรรัสเซียจำนวน 48 ประเทศ

         เพื่อกำหนดมาตรการเฉพาะ อาทิ การห้ามส่งออกสินค้ามากกว่า 200 ประเภท เช่น ด้านโทรคมนาคม การแพทย์ ยานพาหนะ การเกษตร และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ การห้ามธนาคารรัสเซียทำธุรกรรมเกี่ยวกับหุ้นหรือการโอนหุ้น การกำหนดให้บริษัทรัสเซียจ่ายหนี้ต่างประเทศด้วยสกุลเงินรูเบิล ห้ามขายหุ้นในธนาคารและธุรกิจที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อรัสเซียตลอดจนการห้ามส่งออกน้ำมันให้ประเทศที่ร่วมมาตรการจำกัดเพดานน้ำมันรัสเซีย

แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ


แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.