“จุรินทร์” เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องรับมือ ย้ำเดินหน้าทำงานร่วมเอกชน

23 มกราคม 2566
“จุรินทร์” เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องรับมือ ย้ำเดินหน้าทำงานร่วมเอกชน

          “จุรินทร์”มอบวุฒิบัตร TEPCoT  ดันสร้างเงิน สร้างแต้มต่อ สร้างอนาคตให้ประเทศ เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องรับมือย้ำเดินหน้าทำงานร่วมเอกชน

          นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ TEPCoT (Top Executive Program in Commerce and Trade)รุ่นที่ 13 และรุ่นที่ 14 ว่า หลักสูตรนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายส่วน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์หลักสูตรสร้างบุคลากรชั้นนำของประเทศ ให้มีวิสัยทัศน์สามารถวางกลยุทธ์เพื่อวางตำแหน่งของประเทศในการแข่งขันทางการค้าในเวทีโลกและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย

          “ตั้งแต่มาทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชน เอกชนจะเป็นกลไกสำคัญร่วมมือกับภาครัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของประเทศไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ กรอ.พาณิชย์จึงเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ที่ตนมารับหน้าที่ ร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและอื่นๆให้ทุกฝ่ายจับมือกันแก้ปัญหาให้สำเร็จ”

          โดยช่วง 4 ปีที่ผ่านมา การแก้ปัญหาการค้าจึงเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็วและแก้ปัญหาอุปสรรคได้เยอะ ตัวเลขการส่งออกเป็นบวกเพียงไม่กี่ประเทศจากสถานนะการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น ปี 64 ทำได้ 8.5 ล้านล้านบาท แต่ปี 65 เชื่อว่าจะทำได้เกือบ 10 ล้านล้านบาท  หลายท่านมีส่วนสำคัญในการสร้างเงินสร้างอนาคตให้กับประเทศไทยและประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซอฟพาวเวอร์ท่องเที่ยว

          อุตสาหกรรมการเกษตร เวลเนสและสังคมผู้สูงอายุ ทั้งหมดต้องเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนเป็นข้อสรุปที่ถูกต้องที่สุด เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องทำและที่สำคัญคือสิ่งที่โลกต้องการ สุดท้ายเราก็ต้องทำเพราะ กลายเป็นกติกาโลก

          ทั้งวันนี้และอนาคตกำลังต้องเผชิญกับอย่างน้อย 3 ปัญหา ในฐานะคนทำการค้า 1. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์หรือปัญหาความขัดแย้งของโลก จับขั้ว แบ่งข้าง เอาเศรษฐกิจการค้ามัดรวมกับการเมือง และมีการบังคับเลือกข้าง 3-4 กลไกใหญ่ เช่น 1)RCEP ที่จีนเป็นพี่ใหญ่ ซึ่งสำเร็จมีผลบังคับใช้แล้ว 2)อินโดแปซิฟิกที่สหรัฐฯกำลังเป็นหัวเรือรวบรวมสมาชิก  จุดยืนประเทศไทยเราต้องเลือกอาเซียน จับมือกับประเทศสมาชิกให้เราตัวโตขึ้น เป็นยุทธศาสตร์ที่ประเทศไทยต้องยืน 3)เอเปค มีทั้งจีน สหรัฐฯ อนาคตจะพัฒนาเป็น FTA มี GDP 2 ใน 3 ของโลก ถ้าเจรจาสำเร็จแต่คงอีกยาวนานพอสมควร

          2.ความยั่งยืน แปลความหมายได้สองอย่าง 1)ทางบวก คือสิ่งแวดล้อมและอื่นๆและ 2)ทางลบ ในอนาคตจะเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าของประเทศที่ถูกตราหน้าว่าไม่ไปสู่ความยั่งยืน

          3.ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เติบโตน้อยลง ปีนี้โต 2.7% ทำการค้าจะลดความคล่องตัว การส่งออกได้รับผลกระทบ ต้องเร่งทะลวงความท้าทาย ภาครัฐต้องจับมือกับภาคเอกชนเดินหน้าต่อไป ปีนี้เราจะบุกตลาดที่มีศักยภาพอย่างน้อย 3 ตลาดที่ยังบวก เช่นตะวันออกกลาง ตนจะเดินทางไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) วันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ เพื่อตั้งสภาความร่วมมือเอกชน 2 ประเทศ และจะไปเซ็น MoU กับบริษัทโลจิสติกส์ทางเรือยักษ์ใหญ่ที่สุดของ UAE มีเครือข่าย 40 ท่าเรือทั่วโลก เพื่อสร้างเงินสร้างอนาคตไว้ให้ประเทศ และเร่งทำ FTA สร้างแต้มต่อให้อนาคต

          โดยปัจจุบันไทยมี  14 FTA กับ 18 ประเทศต้องเร่งเพิ่มโดยเฉพาะกับอียู ติดขัดจากช่วงยึดอำนาจเลิกเจรจา วันนี้เกือบเสร็จเหลือฝ่ายการเมืองแสดงเจตจำนง เพื่อส่งออกสินค้าได้ตลาดใหม่ภาษีเป็นศูนย์ในอนาคต พรุ่งนี้ผมจะไปบรัสเซลล์ เพื่อพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีการค้าสหภาพยุโรป จะได้ประชุมหาข้อสรุปนับหนึ่งทางการเมือง ตน หวังว่าไปเที่ยวนี้จะนำความสำเร็จกลับมา ถ้าได้นับหนึ่งเมื่อไหร่เราจะสร้างเงินสร้างอนาคตให้กับประเทศไทยต่อไป

แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ


แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.