ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรม (manufacturing production index) ของภาคการบริโภคเหล็กของจีน ซึ่งทำขึ้นโดย S&P Global ในเดือนกันยายนอยู่ที่ 113 จุด เพิ่มขึ้นจาก 99 จุด ในเดือนสิงหาคม แต่ยังต่ำกว่า 121 จุดในปี 2022, 116 จุด ในปี 2021 และ 115 จุดในปี 2020
ดัชนีนี้อิงตามข้อมูลการผลิตจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนหรือ NBS สำหรับสินค้าที่ผลิตซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหล็ก 18 รายการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ภาคส่วน และถ่วงน้ำหนักตามส่วนแบ่งการบริโภคเหล็ก
จากข้อมูล NBS ที่ใช้ค่าเฉลี่ยการผลิตรายเดือนในปี 2018 เป็นฐานที่ 100 นั้น โดยในเดือนกันยายน การผลิตยานพาหนะ เรือ เครื่องใช้ในบ้าน และโรงงานผลิตไฟฟ้า ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตเครื่องจักร ตู้คอนเทนเนอร์ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านรถไฟ ต่างก็ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
ภาคการผลิตเครื่องจักร ซึ่งคิดเป็นประมาณ 60% ของความต้องการเหล็กทั้งหมดของภาคการผลิต จากข้อมูลของ S&P Global แสดงให้เห็นว่าความต้องการเหล็กในเดือนกันยายนลดลงมากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2020-2022
ผลกระทบเชิงลบจากภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ที่เต็มไปด้วยหนี้สินในด้านการต่อเครื่องจักรทางวิศวกรรม และคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกที่ลดลง เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ความต้องการเหล็กในการผลิตลดลง
ข้อมูลของ NBS เผยว่า ในเดือนกันยายน การผลิตรถขุดของจีน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนของกิจกรรมการก่อสร้างที่กำลังที่เกิดขึ้น ได้ลดลง 36% เมื่อทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และต่ำกว่า 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปี 2021
ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้าในรูปเงินดอลลาร์ลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนกันยายน
ตามข้อมูลของรมศุลกากรของจีน ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน มูลค่าการส่งออกลดลง 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
แหล่งข่าวของโรงงานบางแห่งกล่าวว่า ความต้องการเหล็กในการผลิตรถยนต์ เรือ และโรงงานพลังงานใหม่ของจีนมีความแข็งแกร่ง และคาดว่าจะยังคงเท่าเดิมในช่วงปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ภาคส่วนเหล่านี้มีขนาดเล็กเกินไปที่จะชดเชยผลกระทบต่อความต้องการเหล็กในจีนได้อย่างเต็มที่ จากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ ซึ่งอาจต้องใช้ความพยายามมากกเพื่อให้ฟื้นตัวในปี 2024 แหล่งข่าวกล่าวเสริม
ท่ามกลางความต้องการเหล็กในประเทศที่ซบเซา ผู้ผลิตเหล็กเส้นทั่วไปของจีนขาดทุนประมาณ 150-200 หยวน/ตัน ($20-27/ตัน) ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ในขณะที่ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนขาดทุน 50-100 หยวน/ตัน ตามข้อมูลของโรงงาน
เนื่องจากโรงงานต่างๆ ยังคงเผชิญกับความขาดทุนอย่างต่อเนื่อง อัตราการใช้กำลังการผลิตของเตาถลุงเหล็ก (blast furnace) โดยเฉลี่ยในจีนในช่วงปลายเดือนตุลาคม จึงลดลงเหลือ 90.6% และลดลงจากประมาณ 93% ณ สิ้นเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม อัตราการใช้กำลังการผลิตยังคงสูงกว่า 88% ในปีที่แล้ว
แหล่งข่าวบางแห่งกล่าวว่า การผลิตเหล็กของจีนคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายน แต่การสร้างความมั่นใจของการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับปีนี้ ซึ่งรัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะผ่อนปรนการควบคุมการผลิตเหล็กในปี 2023 และผลที่ตามมาคือ แนวโน้มการผลิตเหล็กที่ลดลงน้อยกว่ากว่าความต้องการในช่วงฤดูหนาว ซึ่งโดยปกติจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนในประเทศจีน แหล่งข่าวกล่าวเสริม