การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์อาเซียนที่ถดถอยลงส่งผลกระทบต่อความต้องการเหล็ก

14 กันยายน 2563
การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์อาเซียนที่ถดถอยลงส่งผลกระทบต่อความต้องการเหล็ก
            การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์อาเซียน จากการระบาดใหญ่ของโควิด 19 น่าจะเป็นกระบวนการที่ยืดออกไปนานมากขึ้น และส่งผลกระทบความต้องการเหล็ก ในขณะที่ระลอกใหม่ของการระบาดก่อให้เกิดความกังวลว่า ขาขึ้นสำหรับความต้องการน้ำมันอาจจะยืดออกไปอีกเช่นกัน
            ข้อมูลจาก ASEAN Automotive Federation ชี้ให้เห็นว่า ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ เช่น อินโดนีเซีย และไทย ดำเนินการเดือนต่อเดือน เพื่อจะฟื้นฟูการผลิตและยอดขายให้กลับไปสู่ระดับก่อนการระบาด
            ยกตัวอย่างเช่น การผลิตรถยนต์ของอินโดนีเซียในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 โดยอยู่ที่ 25,283 คัน จาก 17,628 คันในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ยอดขายในเดือนนั้น เพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดือนก่อน โดยอยู่ที่ 25,283 คัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการผลิตและยอดขาย ลดลงร้อยละ 79.6 และร้อยละ 71.7 ตามลำดับ จากปีที่แล้ว
            ในประเทศไทย การผลิตและยอดขายรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 89,336 คัน และ 59,335 คัน ตามลำดับ คล้ายกันกับอินโดนีเซีย ตัวเลขการผลิตของไทยในเดือนกรกฎาคมสูงกว่าการผลิตในเดือนมิถุนายน ซึ่งอยู่ที่ 71,704 คัน ในขณะที่ยอดขายค่อนข้างจะคงที่จาก 58,049 คัน ที่มีในเดือนมิถุนายน 2563 อย่างไรก็ตาม การผลิตลดลงร้อยละ 46.7 และ ยอดขายลดลงร้อยละ 26.8 จากเดือนกรกฎาคม 2562
            ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม การผลิตของอินโดนีเซียลดลงร้อยละ 44.7 ในขณะที่การผลิตของไทยลดลงร้อยละ 43.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  ยอดขายของไทยสำหรับช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม ลดลงร้อยละ 35.9 ในขณะที่อินโดนีเซียมียอดขายลดลงร้อยละ 49.9 จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
             สภาอุตสาหกรรมไทย คาดการณ์ ณ วันที่ 21 สิงหาคม ว่า การผลิตรถยนต์จะอยู่ระหว่าง 1.3 ล้านคัน ถึง 1.4 ล้านคัน ในปี 2563  และอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยอาจใช้เวลา 5 ปีที่จะฟื้นตัวถึงระดับก่อนการระบาดใหญ่  ณ เดือนกรกฎาคม การผลิตอยู่ที่ ร้อยละ 48.7 ถึง ร้อยละ 53.5 ของระดับที่สภาอุตสาหกรรมไทยคาดการณ์ ในปี 2562 การผลิตรถยนต์รวมทั้งสิ้น 2.01 ล้านคัน
             ในขณะเดียวกัน การบริโภคเหล็กของไทย คาดว่าจะลดลง ไปอยู่ที่ระหว่าง 16.73 ล้านตัน ถึง 17.89 ล้านตันในปี 2563 จาก 18.59 ล้านตันในปี 2562 จากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยบริโภคเหล็กคิดเป็นประมาณร้อยละ 22 ของการบริโภคเหล็กทั้งหมดในประเทศ
             ในทิศทางเดียวกัน สมาคมผู้ผลิตยานยนต์อินโดนีเซีย (Association of Indonesian Automotive Manufacturers หรือ Gaikindo) คาดว่า อินโดนีเซียจะมียอดขายรถยนต์ที่ 600,000 คัน ในปี 2563 ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายรถยนต์ที่ขายในปี 2562 (1.03 ล้านคัน)
ผลตอบกลับในทางลบมีตลอดห่วงโซ่ ผู้ผลิตเหล็ก IF (Induction Furnace) ในอินโดนีเซียกล่าว
 
             “เศรษฐกิจที่อ่อนแอลง จะทำให้มีความต้องการรถยนต์ใหม่น้อยลง และเมื่อมีการผลิตรถยนต์น้อยลง จะทำให้มีเศษเหล็กน้อยลงในประเทศ” เขากล่าว  นั่นทำให้เศษเหล็กมีค่าพรีเมี่ยม และคุณจะร่ำรวยมากพอที่จะจ่ายเพิ่ม หรือไม่คุณต้องลดการผลิตลง”
             การบริโภคเหล็กในอินโดนีเซียในปี 2562 คาดว่าจะลดลงต่ำกว่าระดับปี 2558 (12.7 ล้านตัน) การบริโภคเหล็กเท่ากับ 15.9 ล้านตัน ในปี 2562  จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าอินโดนีเซีย
การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ขัดขวางการฟื้นตัว
             การฟื้นตัวในปริมาณการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคมจากเดือนที่ผ่านมา ได้สะท้อนจากความต้องการน้ำมันเบนซินในภูมิภาคอาเซียน
             ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมการใช้รถในอินโดนีเซียและไทยยังอยู่ในขาขั้น  กิจกรรมการใช้รถของไทยในเดือนกรกฎาคม เฉลี่ยสูงกว่าระดับฐาน ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งคล้ายกันกับระดับก่อนการระบาด จากข้อมูลของ Apple
เช่นเดียวกัน การใช้รถในอินโดนีเซียมีมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม จากเดือนก่อน ตัวเลขอยู่ในระหว่างบวก 20 และติดลบร้อยละ 10 จากระดับฐาน เพิ่มขึ้นจากช่วงระหว่างติดลบร้อยละ 30 และติดลบร้อยละ 10
             ในภาพรวมแล้ว การผลิตและยอดขายรถยนต์ในอาเซียน ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 1.42 ล้านคัน และ 1.19 ล้านคัน ตามลำดับ ลดลงร้อยละ 42.1 และร้อยละ 40.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
 
-- Clement Choo, Mark Tan, Samuel Chin

แหล่งที่มา : Steel Business Briefing

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.