ผลต่อการส่งออกโดยตรง : สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้าเหล็กกล้ารายใหญ่ของโลก โดยในปี 2024 สหรัฐอเมริกานำเข้าเหล็ก 31.82 ล้านตัน (รวมบิลเล็ต) โดยมีซัพพลายเออร์หลัก ได้แก่ แคนาดา บราซิล สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และเม็กซิโก
อย่างไรก็ตาม มีการนำเข้าโดยตรงจากจีนเพียง 890,000 ตันเท่านั้น คิดเป็นเพียง 0.8% ของการส่งออกเหล็กทั้งหมดของจีน และคิดเป็น 2.8% ของการนำเข้าเหล็กของสหรัฐฯ แม้ว่ามาตรการ "ภาษีศุลกากร (reciprocal tariffs)" ของสหรัฐฯ ในรอบนี้จะไม่รวมเหล็ก อลูมิเนียม ทองคำ และทองแดง ไว้ในรายการภาษี แต่สหรัฐฯ ก็ได้กำหนดภาษีนำเข้าเหล็กภายใต้มาตรา 232 ไปแล้ว 25% โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม
ภายหลังจากที่ทรัมป์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ว่าจะจัดเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก 25% ทำให้ประเทศต่างๆ เช่น เวียดนามและเกาหลีใต้ได้ริเริ่มมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด (anti-dumping measures) ต่อการส่งออกเหล็กของจีน ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลต่อการส่งออกเหล็กของจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคาดการณ์ว่าการส่งออกเหล็กของจีนในปีนี้อาจลดลง 15 ล้านตันถึง 19.5 ล้านตัน
ผลกระทบการส่งออกทางอ้อม : ประมาณ 60% ของการค้าต่างประเทศ การส่งออกของจีนประกอบด้วย electromechanical products ซึ่งช่วยกระตุ้นการส่งออกเหล็กทางอ้อมของจีนได้อย่างมาก ตามเว็บไซต์ของ SteelHome การส่งออกเหล็กทางอ้อมของจีนในปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 150 ล้านตัน
สหรัฐฯ เป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจีน โดยในปี 2024 มีมูลค่าการส่งออก 3.7 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 14.7% ของการส่งออกทั้งหมดของจีน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกเหล่านี้เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เหล็ก โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวคิดเป็นมูลค่า 1.55 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นร้อยละ 41.5 ของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา
การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ อาจเป็นการส่งเสริมให้ประเทศอื่นๆ นำนโยบายคุ้มครองการค้ามาใช้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประเทศผู้ส่งออกสุทธิ
แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากอุปทานส่วนเกิน ความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์เป็นปัญหาระยะยาวของภาคอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ SteelHome ระบุว่าปัจจุบันกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์เหล็กหลักๆ ในจีนมีเกินกว่าผลผลิต
การลดลงของการส่งออกโดยตรงหรือโดยอ้อมยิ่งจะเพิ่มแรงกดดันจากอุปทานที่เกินอุปสงค์ ซึ้งในปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงอยู่ในภาวะปรับตัว และการเติบโตของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยังคงซบเซา
อุตสาหกรรมเกิดใหม่ เช่น การผลิตอุปกรณ์และพลังงานใหม่ ก็สามารถให้การสนับสนุนความต้องการเหล็กได้อย่างจำกัด และประกอบกับอุปสรรคในการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องกลไฟฟ้า ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริโภคเหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน (flat steel)
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การบริโภคเหล็กของจีนแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง โดยความต้องการเหล็กก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีการเพิ่มขึ้นของวัสดุในภาคอุตสาหกรรม การปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล็กของจีนกำลังเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และจากผลิตภัณฑ์ทรงยาวเป็นผลิตภัณฑ์ทรงแบน
บทสรุป: การขึ้น "reciprocal tariff"" ของสหรัฐฯ ถือเป็นความเสี่ยงเชิงระบบ และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโลกนั้นยากที่จะประเมิน
ในระยะสั้น ความรู้สึกต่อความเสี่ยงในตลาดที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้ตลาดทุนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาเหล็กในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าผลกระทบนี้อาจไม่ยาวนานนักก็ตาม
ในระยะกลางถึงระยะยาว สงครามภาษีระดับโลก จะเพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมเหล็กของจีนจากอุปทานที่เกินอุปสงค์ ราคาเหล็กมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก และผู้ประกอบการเหล็กต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม