ผู้เชี่ยวชาญเหล็กหนุนยกเลิกเตา IF หลังคุมคุณภาพไม่ได้ ตกมาตรฐาน

25 เมษายน 2568
ผู้เชี่ยวชาญเหล็กหนุนยกเลิกเตา IF หลังคุมคุณภาพไม่ได้ ตกมาตรฐาน

ผู้เชี่ยวชาญเหล็กยกมือสนับสนุนกระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกเตา IF หลังควบคุมคุณภาพไม่ได้ ตกมาตรฐาน แนะผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้เชี่ยวชาญกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับการที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะยกเลิกการรับรองมาตรฐานเหล็กที่ผลิตโดยกระบวนการใช้เตาอินดักชั่น Induction Furnace (IF) ว่า ในความคิดเห็นส่วนตัวถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าเหล็กที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ในราคาที่เหมาะสมแม้จะได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้น แต่ก็ถือว่าแลกมาด้วยเรื่องของความปลอดภัย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาการผลิตเหล็กแบบ IF จะมีราคาที่ต่ำกว่าการผลิตด้วยเทคโนโลยี Electric Arc Furnace (EF) เพราะมีต้นทุนที่แตกต่างกัน จากกระบวนการผลิตที่การควบคุมคุณภาพไม่เข้มข้น

“การซื้อเหล็กอาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่มองว่าไม่ได้แตกต่างกันมากมายเม่าใดนัก เพราะต้องเรียนว่าก่อนที่จะมีเตา IF สินค้าเหล็กเป็นสินค้าควบคุมโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หากมีการขึ้นราคาหรือจำหน่ายในราคาสูงเกินความเหมาะสม ก็จะถูกควบคุม และถูกบังคับเรื่องราคาได้อยู่แล้ว”

อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการที่ใช้เตาแบบ IF ต้องถูกยกเลิก ในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่า อาจไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมากมายเท่าใดนัก โดยทางออกที่สามารถทำได้ ประกอบด้วย

  • การดัดแปลงเตา IF โดยไม่ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด เพราะการใช้เทคโนโลยี IF เป็นกระบวนการที่ใช้ตอนนำเศษเหล็กมาหลอม ดังนั้น จึงสามารถปรับปรุงได้โดยนำเทคโนโลยี Billet มาใช้รีดเป็นเหล็กเส้น หรือเหล็กข้ออ้อยได้

    ปรับเปลี่ยน หรือดัดแปลงจาก IF เป็น EF ซึ่งมีการควบคุมคุณภาพที่แม่นยำ และเสถียรมากกว่า

  • “ต้องเรียนว่าที่ผ่านมาช่วงที่กระทรวงอุตฯให้ใช้เทคโนโลยี IF ได้ เพราะหากสามารถควบคุมวัตถุดิบได้ดี มีความรับผิดชอบก็สามารถทำได้จริง แต่ปรากฎว่าที่กระทรวงอุตฯสุ่มตวจช่วงหลัง พบว่ามีหลายรายที่ทำได้ไม่ถึงตามมาตรฐาน การปฏิบัติจริงไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือตามที่กำหนด”

ขณะที่การตรวจสอบเหล็กจากเทคโนโลยี EF โดยสำนักงานมาตรฐานผิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พบว่าไม่มีรายใดที่ตกมาตรฐาน 

นายนาวา กล่าวอีกว่า ในเชิงของการทำธุรกิจถือว่ามีความยุติธรรม เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดการได้แต้มต่อ หรือข้อได้เปรียบจากโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีล้าสมัยในเรื่องของต้นทุนการผลิต

อีกทั้ง เทคโนโลยี IF นั้น หลายประเทศเช่น จีน และมาเลเซีย เป็นต้น ไม่ให้การยอมรับ และไม่อนุญาติให้นำเข้าไปใช้งานประเทศ

นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองก็จะได้รับประโยชน์จากสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม เพราะสินค้าเหล็กมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย

จากการตรวจสอบของ “ฐานเศรษฐกิจ” พบว่าโรงงานผลิตเหล็กที่ใช้เทคโนโลยี IF มีอยู่ประมาณ 10 บริษัทในประเทศไทย

 

แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.