อุตฯเหล็กไทย’ หืดขึ้นคอ ต่างชาติรุกตลาด-ยึดฐานผลิต

21 สิงหาคม 2567
อุตฯเหล็กไทย’ หืดขึ้นคอ ต่างชาติรุกตลาด-ยึดฐานผลิต
"อุตสาหกรรมเหล็ก" หืดขึ้นคอ และทยอยปิดกิจการ ภายหลังบว่าผู้ประกอบธุรกิจต่างบชาติเข้ามารุกตลาดผลิตเหล็กในประเทศไทยครบวงจร

จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกที่มีผลกระทบ ผนวกประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่ก้าวเป็นผู้นำเทคโนโลยีสามารถผลิตสินค้าในปริมาณมหาศาลสามารถคุมต้นทุนได้จีนจึงเข้ามาครองส่วนแบ่งทางการตลาดจำนวนมากทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย

จากข้อมูลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พบว่าในภาพรวมแม้อุตสาหกรรมเหล็กในไทยจะมีการเติบโตแต่ก็มีโรงงานไม่น้อยต้องปิดตัวลง เพราะด้วยต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งค่าไฟ-น้ำมัน

อีกทั้งจากภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่มีความต้องการใช้เหล็กสัดส่วน 30% ของความต้องการเหล็กทั้งประเทศ อ่อนตัวลง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กในภาพรวมของจีนลดลงด้วย

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เล่าว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตเหล็กจีนซึ่งมีความได้เปรียบเชิงต้นทุน มีการส่งออกมากขึ้น โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) ยอดการส่งออกสินค้าเหล็กสำเร็จรูปที่ 53.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

และหากยังคงส่งออกในระดับนี้ คาดว่าการส่งออกรวมในปี 2567 จะเท่ากับ 106.8 ล้านตัน ใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 110 ล้านตัน เหมือนปี 2558 หรือสูงสุดรอบ 9 ปี

ในขณะที่ การนำเข้าเหล็กของไทยในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2567 มีปริมาณการนำเข้าสินค้าเหล็กสำเร็จรูปจากจีนยังสูงเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ปริมาณ 2.397 ล้านตันเพิ่มขึ้น 0.9% หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 43% ของปริมาณการนำเข้าของไทย

ในขณะที่อัตราการใช้กำลังผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กไทยต่ำสุดรอบ 7 ปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 29.3% เท่านั้นโดยปี 2566 มีอัตรการใช้กำลังการผลิตเพียง 31.2% ส่วนปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 33.4%

สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พบสินค้าไม่ได้มาตรฐานกว่า 344 ล้านบาทและพบด้วยว่าเหล็กและวัสดุก่อสร้างสูงเป็นอันดับ 1 มูลค่ากว่า 126 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 37%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเหล็กไทยกำลังเผชิญสถานการณ์บริษัทเหล็กจีนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท.ได้รวบรวมข้อมูล พบว่ามีบริษัทจีนเข้ามาลงทุนขนาดกำลังการผลิตรวม 12.42 ล้านตันในขณะที่ความต้องการใช้เหล็กของไทยในปี 2567 อยู่ที่ 16 ล้านตันเท่านั้นการผลิตเหล็กตอนนี้จึงใกล้เคียงกับความต้องการใช้ในประเทศแล้ว

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายที่ต้องหาตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยผู้ผลิตยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นวิกฤตินี้ทำให้ผู้ผลิตเหล็กสัญชาติไทยต้องทยอยปิดกิจการ เพราะโดนแย่งตลาดทั้งในและต่างประเทศ

หวังว่าภาครัฐจะเห็นถึงความสำคัญไม่เปิดกว้างให้ต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานเหล็กในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากไปกว่าเดิม... ไม่เช่นนั้น ธุรกิจเหล็กในไทยอาจต้องปิดกิจการจนหมดและท้ายที่สุดจะกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กจากต่างชาติที่รุกเข้ามาทำธุรกิจนี้แทนคนไทย


แหล่งที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.