เปิด 3 อุตฯน่าเป็นห่วง ถูกจีนแย่งตลาด แรงงานเสี่ยงตกงาน 7 แสนคน

03 กันยายน 2567
เปิด 3 อุตฯน่าเป็นห่วง ถูกจีนแย่งตลาด แรงงานเสี่ยงตกงาน 7 แสนคน
“ดร.พิพัฒน์” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP เผย หลังโควิดไทยขาดดุลการค้าจีนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จนถึง มิ.ย. 67 แตะ 1 ล้านล้านบาท ชี้ 3 อุตสาหกรรมน่าเป็นห่วง “ยานยนต์-ปิโตรเคมี-เหล็ก’ หวั่นแรงงานเสี่ยงตกงาน 7 แสนคน แนะ 4 ทางออกแก้ปัญหาประเทศ

วันที่ 3 กันยายน 2567 ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวถึงผลกระทบจีนต่อประเทศไทยว่า จากช่วงก่อนปี 2010 ไทยส่งออกสินค้าไปจีนพอ ๆ กับการนำเข้าจากจีน แต่หลังจากนั้นไทยเริ่มขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้น โดยหลังโควิดไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และข้อมูล ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ย้อนหลังไป 12 เดือน พบว่าไทยขาดดุลการค้ากับจีนกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1 ล้านล้านบาท

โดย 3 สาเหตุที่ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้นคือ 1. Rerouting หรือ Trade diversion (การเบี่ยงเบนทางการค้า) คือการที่ไทยนำเข้าสินค้าจีนเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐ เพื่อหลบเลี่ยงสงครามการค้า ซึ่งจะเห็นว่าสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐกับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีนมีความสอดคล้องกัน แสดงว่าช่วงไหนที่ไทยส่งออกไปสหรัฐได้เพิ่มขึ้นจะต้องนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นด้วย

“คือจีนใช้เราเป็น Connector Country อย่างเช่น สินค้าโซลาร์เซลล์ เรากลายเป็นผู้ส่งออกโซลาร์เซลล์ขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ปัญหาคือเราไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะเกือบจะนำเข้าจากจีนทั้งหมด และใส่กล่องส่งออก อาจจะมีแค่กระบวนการประกอบเท่านั้นเอง ดังนั้นไทยได้ประโยชน์น้อยมาก”

2. Relocation หรือการที่จีนย้ายฐานผลิตมาไทยเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นยอดส่งออกไทยไปสหรัฐ จะเจอไอเท็มสินค้าแปลก ๆ ที่ไม่เคยผลิต แต่อยู่ดี ๆ ผลิตได้จำนวนมาก จากการที่สหรัฐลดการนำเข้าจากจีนและมานำเข้าจากไทยแทน เช่น Wifi Router ปีที่ผ่านมาเดือนหนึ่งส่งออกไปเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งประเด็นนี้จะมีความเสี่ยงอยู่ 2 เรื่องคือ 1. ไทยอาจจะโดนสหรัฐตามไปเช็กบิล และ 2. มูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในประเทศมีไม่มาก เพราะเวลาจีนมาลงทุนในไทยมักจะเอาซัพพลายเชนมาด้วย ดังนั้นถ้าไทยจะได้ประโยชน์ต้องเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของจีนให้ได้

และ 3. Import Competition หรือการที่สินค้าจีนเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการไทยมากขึ้น

ซึ่งตอนนี้ 3 อุตสาหกรรมที่อาการค่อนข้างน่าเป็นห่วงจากผลกระทบข้างต้นคือ 1. อุตสาหกรรมเหล็ก เพราะโรงงานเหล็กในไทยสู้ต้นทุนไม่ได้จากการดัมพ์ราคาของสินค้าจีน จึงต้องนำเข้าจากจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. อุตสาหกรรมรถยนต์ ปีนี้โดนผลกระทบ 2 เด้งคือ เศรษฐกิจชะลอตัวกดดันยอดขายรถยนต์ในประเทศหดตัวไปกว่า 20% และรถอีวีจีนเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด (EV Penetration) ไปอีก 20% จากที่จีนส่งออกรถอีวีไม่ได้เพราะโดนกำแพงภาษี ก็ทะลักมาขายในไทยเพราะนอกจากไม่มีกำแพงภาษีแล้วยังสนับสนุนการซื้อรถอีวีอีกด้วย

“จากเดิมไทยเคยผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเกือบ 100% ในประเทศ มีซัพพลายเชนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้องการจ้างงานรวมกว่า 7-8 แสนคน ซึ่งผลกระทบจากรถอีวีจีนเริ่มเห็นอาการชัดจากบริษัท Suzuki และ Subaru ปิดโรงงานในไทย ไปใช้วิธีการนำเข้าจากญี่ปุ่นมาขายแทน ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือจะกระทบหนักต่อการจ้างงาน

โดยการเปลี่ยนไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต จะส่งผลให้แรงงานกว่า 7 แสนคน เสี่ยงตกงาน จากตอนนี้กลุ่มผู้ประกอบยานยนต์ 25 บริษัท จ้างงานอยู่ 1 แสนคน ผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 1 มากกว่า 700 บริษัท จ้างงานอยู่ 2.5 แสนคน และผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 2 และ Tier 3 มากกว่า 1,700 บริษัท จ้างงานถึง 3.4 แสนคน”...

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1643700
แหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.