เปิดธุรกิจใหม่ ตลท. "คาร์บอนฟุตพรินต์" รับตลาด "คาร์บอนเครดิต"

02 พฤษภาคม 2566
เปิดธุรกิจใหม่ ตลท. "คาร์บอนฟุตพรินต์" รับตลาด "คาร์บอนเครดิต"

          ปิดธุรกิจใหม่ ตลท. "คาร์บอนฟุตพรินต์" รับตลาด "คาร์บอนเครดิต" วราวุธเชื่อคุ้มค่าการลงทุนเมื่อพ.ร.บ.ลดโลกร้อนมีผลบังคับใช้ ระบุหากไม่ทำวันนี้ อนาคตอาจได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษีจากฝั่งยุโรปและอเมริกา

          นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  (ตลท.) คือ การลงทุนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตพรินต์ ให้เป็น Net Zero ซึ่งบริษัทเอกชนหลายบริษัทก็ได้รับสัมปทานเข้าไปลงทุนปลูกป่า

          อย่างไรก็ดี การดำเนินการดังกล่าวจะคุ้มค่าการลงทุนก็ต่อเมื่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นกฎหมายภาคบังคับ ซึ่งคาดว่าจะออกมาใช้ได้ประมาณเดือนกันยายนหรือเดือนตุลาคมปี 2566 นี้ออกมาบังคับใช้

          และกำหนดโควตาของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หากไม่เพียงพอก็จะต้องซื้อจากตลาด

          สำหรับการลงทุนธุรกิจใหม่นี้ถือว่าเป็นการลงทุนในระยะกลาง การปลูกป่าชายเลนต้องใช้เวลาในการปลูก แต่ต้นไม้จะเติบโตได้เร็วและดูดทรัพย์คาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

          ส่วนผู้ที่ออกใบรับรองคาร์บอนเครดิต ปัจจุบันยังมีไม่มาก แต่เชื่อว่าอนาคตจะมีเพิ่มขึ้นเมื่อกฎหมายบังคับใช้ และจะใช้เวลาเร็วขึ้นจากเดิมที่ใช้คนในการเดินตรวจสอบ แต่ในอนาคตจะใช้ดาวเทียมและโดรนในการจับภาพและมาประเมินคาร์บอนเครดิตในแปลงปลูกป่าชายเลน

          “หากไม่ทำตั้งแต่วันนี้ อนาคตอาจได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษีจากฝั่งยุโรปและอเมริกา สินค้าทุกประเภทจะต้องมีคาร์บอนเครดิต หากไม่มีก็ส่งออกไม่ได้ ดังนั้นทุกฝ่ายควรต้องร่วมมือกันเพื่อรับผลกระทบที่กำลังจะมาถึง”

          นอกจากนี้ สิ่งที่น่ากลัวคือกำแพงภาษีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นแล้ว อย่างยุโรปมีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง หรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)

          โดยมีค่าปรับตันละ 85 ยูโร ส่วนสหรัฐฯ ก็มีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ Clean Competition Act (CCA) มีค่าปรับตันละ 55 เหรียญสหรัฐ

          นายวราวุธ กล่าวอีกว่า ยุโรปกำหนดกำแพงภาษี CBAM มีสินค้าอยู่ 5 ประเภท คือ เหล็ก เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ไฟฟ้า และซีเมนต์ โดยเริ่มทดลองใช้ปีนี้ และมีการขยายสินค้าเพิ่มเติมอย่างเช่น กระดาษ กระจก ยิปซัม ปิโตรเคมีอีก 6-7 ชนิด ต้องมีฉลากติดว่ามี Carbon Footprint อยู่เท่าไหร่ ซึ่งคาดว่าปี 2569 จะเริ่มบังคับใช้ และมีค่าปรับสำหรับสินค้าที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน โดยมองว่ายุโรปมีความเข้มงวดมาก เพราะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากพอสมควร

          "คุณภาพของคาร์บอนเครดิตที่ดีที่สุดคือป่าชายเลน ซึ่งมีมากกว่า 7-8 เท่า เมื่อเทียบกับป่าบนบกปกติ โดยสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าปกติ ซึ่งมีการศึกษามาแล้วว่าต้นโกงกางเป็นต้นไม้ที่สามารถดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าต้นไม้ทั่วไป โดยป่าชายเลนยังสามารถปล่อยออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อีกด้วย" 

แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ


แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.